เมนู

เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เรียกว่านิโรธ ดูก่อนอานนท์
ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ
จบ อานันทสูตร
จบ อนิจจวรรคที่ 2

อรรถกถาอานันทสูตรที่ 10



พระสูตรสุดท้ายในอนิจจวรรค เป็นไปด้วยอำนาจคำถามบท
ที่เหลือ พระองค์ทรงแสดงด้วยอำนาจแห่งผู้มีปัญญาตรัสรู้โดยประการนั้น ๆ.
จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาอนิจวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนิจจสูตรที่ 1 2. ทุกขสูตรที่ 1 3. อนัตตสูตรที่ 1
4. อนิจจสูตรที่ 2 5. ทุกขสูตรที่ 2 6. อนัตตสูตรที่ 2 7. อนิจจ-
เหตุสูตร 8. ทุกขเหตุสูตร 9. อนัตตเหตุสูตร 10. อานันทสูตร

ภารวรรคที่ 3



1. ภารสูตร



ว่าด้วยขันธ์ 5 เป็นภาระ



[49] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ การถือภาระ และการวางภาระ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่า ภาระ คืออุปาทาน
ขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์
คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร และ
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
[50] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่า
บุคคลบุคคลนี้นั้น คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ.
[51] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถือภาระเป็นไฉน ตัณหานี้ใด
นำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือภาระ.